คุณอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ AMP กันมาบ้างแล้วนะครับ
AMP ย่อมาจาก Accelerated Mobile Pages ซึ่งเคยเป็นข่าวใหญ่ของวงการตลาดตั้งแต่มีการเปิดตัวในปี 2015
AMP เป็นรูปแบบการพัฒนา Open Source ที่ออกแบบมาเพื่อทำให้หน้าเว็บไซต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือสมาร์ทโฟนแสดงผลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
Google ได้กล่าวถึง AMP ในโพสต์บนบล็อกอย่างเป็นทางการว่า
“เมื่อหน้าเว็บใช้เวลาโหลดนานเกินไป พวกเขาจะสูญเสียผู้เข้าชม รวมถึงโอกาสในการสร้างรายได้ผ่านการโฆษณาหรือการสมัครสมาชิก... (AMP) มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเว็บเพจเวอร์ชันอุปกรณ์พกพาหรือโมไบล์เว็บให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว เราต้องการให้เว็บเพจที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่หลากหลาย เช่น วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว และกราฟิกสามารถทำงานไปพร้อมกับโฆษณาแบบ smart ads และสามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็วทันใจ”
เมื่อ AMP กลับมาอีกครั้งในปี 2015 ก็ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่เราเคยคิด
นั่นเป็นเพราะการริเริ่มการให้ความสำคัญกับแนวคิด Mobile-first ของ Google Google ทราบดีว่า
1.) มีผู้ใช้ที่ค้นหาข้อมูลและเว็บไซต์ผ่านทางอุปกรณ์พกพามากขึ้น 2.) ผู้ใช้ชอบเว็บไซต์ที่โหลดรวดเร็วทันใจ
และเนื่องจากความต้องการของ Google ในการมอบประสบการณ์ท่องเว็บไซต์แบบไร้รอยต่อให้กับผู้ใช้งาน AMP จะให้ผลตอบแทนกับเว็บไซต์ที่ปฏิบัติตามข้อกำหนดดังกล่าว นั่นหมายความว่าหน้าเว็บที่รองรับ AMP จะได้อันดับผลการค้นหาสูงขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม AMP ก็มีข้อด้อยบางประการเช่นกัน
สิ่งที่เด่นชัดที่สุดที่คุณอาจสังเกตเห็นคือการลดลงของ Conversion เนื่องจาก AMP จะตัดโค้ดภายนอกทั้งหมดที่ต้องใช้เวลาในการโหลดออกเพื่อให้ทำงานอย่างรวดเร็วกว่าเดิม แต่หากคุณต้องการให้ Conversion กลับมาเหมือนเดิม คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มโค้ดบางส่วนนั้นเข้าไป
แม้ AMP จะมีข้อจำกัดบางประการ AMP เองก็ดูจะทวีความสำคัญมากขึ้นต่อประสิทธิภาพการทำงานของหน้าเว็บในระยะยาว ผมขอแนะนำให้เริ่มต้นทดลองใช้งานกับบล็อกของคุณ แล้วจึงเพิ่ม AMP ไปยังหน้าอื่นๆ บนเว็บไซต์
สำหรับคำแนะนำอย่างเต็มรูปแบบในการเพิ่ม AMP ไปยังหน้าเว็บของคุณคลิก ที่นี่
เทคนิคนี้ใช้กับ AMP
ลองคิดดูว่า: ผู้ใช้ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 69% ไปกับการเสพสื่อบนสมาร์ทโฟน แต่เมื่อพวกเขาเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ 47% ของผู้บริโภคคาดหวังว่าหน้าเว็บจะโหลดภายใน 2 วินาทีหรือน้อยกว่า และ 40% ของผู้ใช้กดปิดหน้าเว็บไซต์ที่ใช้เวลาโหลดมากกว่า 3 วินาที
ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บแน่นอนว่าเป็นเรื่องใหญ่ และอย่างที่ผมกล่าวไปข้างต้น Google ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้มือถือมาเป็นเวลายาวนาน
เมื่อไม่นานมานี้ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับสำหรับการค้นหาบนเดสก์ท็อป แต่ Google เพิ่งออกมาประกาศว่า ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์ จะกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการจัดอันดับสำหรับการค้นหาบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยจะเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2018
นั่นหมายความว่าบริษัทต่างๆ มีเวลาเพียงไม่กี่เดือนในการปรับเปลี่ยนเวลาในการโหลดหน้าเว็บบนมือถือให้ไวยิ่งขึ้น ซึ่งก็มีปัจจัยหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อเวลาในการโหลดหน้าเว็บไซต์ แต่โชคดีที่ข้อจำกัดเหล่านี้สามารถแก้ไขได้