บล็อกและโพสต์ การตลาดดิจิทัล

ทำการตลาดออนไลน์กับกลุ่ม LGBTQIA+ กลุ่มที่มีกำลังซื้อมากที่สุด

โครงเรื่อง
    Add a header to begin generating the table of contents
    cover banner13

    อย่างที่ทราบกันดีว่าเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คือ เดือนแห่งเทศกาล Pride Month ที่จัดขึ้นเพื่อชาว Queer นั่นเอง การเฉลิมฉลองนี้จัดขึ้นโดยเป็นการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องสิทธิต่าง ๆ ให้กับกลุ่ม LGBTQIA+ ในเรื่องต่าง ๆ ในประเทศไทยของเราเองก็ได้มีการผลักดันพ.ร.บ สมรสเท่าเทียม เพื่อให้คู่รักชาว LGBTQIA+ มีสิทธิในการแต่งงานกันทางกฎหมายอย่างชอบธรรม เหล่าแบรนด์ หรือองค์กรต่าง ๆ จึงได้จัดทำแคมเปญที่เกี่ยวข้องเพื่อเจาะตลาดลูกค้ากลุ่มนี้มากขึ้น

    ความสำคัญของชาว LGBTQIA+ กับเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก

    จากข้อมูลในฐานเศรษฐกิจ ทำให้ได้พบความน่าสนใจเกี่ยวกับกำลังซื้อของชาว LGBTQIA+ อีกด้วย โดยข้อมูลจาก LGBT CAPITAL ได้เผยว่า ในปัจจุบันมีประชากรที่เป็นเพศทางเลือกหรือชาว LGBTQIA+ ทั่วโลกมากถึง 486 ล้านคน อาศัยอยู่ในเอเชีย 288 ล้านคน โดยเป็นคนไทย 4 ล้านคน โดยประชากรเพศทางเลือกที่อายุเกิน 15 ปี มีจำนวน 3.6 ล้านคน หรือมีสัดส่วนราว 5% ของประชากรไทย มีอำนาจการใช้จ่ายอยู่ที่ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากนับรวมทั่วโลกจะมีอำนาจการใช้จ่ายรวมกันถึง 3.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

    นางสาวสุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการบริษัท เทอร์ร่า มีเดีย แอนด์ คอนซัลติ้ง จำกัด ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า กลุ่ม LGBTQIA+ เป็นโอกาสทางการตลาดที่สำคัญ เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในการซื้อสูง จากการเก็บข้อมูลของ Terra BKK จากลูกค้า 1,132 ราย พบเป็นกลุ่มผู้มีรายได้มากกว่า 85,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป LGBTQIA+ มีสัดส่วนสูงถึง 19% เทียบกับสถานะของชายหญิงทั่วไปที่มีสัดส่วน 15% และต่อมาเป็นกลุ่มที่มีรายได้ 50,000-85,000 บาทต่อเดือนนั้น ชาว LGBTQIA+ ก็มีจำนวนมากกว่าอยู่ที่ 23% เมื่อเทียบกับชายหญิงทั่วไปที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 14% จึงถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงเมื่อเปรียบเทียบกับคนในวัยเดียวกัน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ในหลายภาคธุรกิจได้มีการออกมาสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศกันมากขึ้น เหล่าแบรนด์ดังต่าง ๆ ก็พยายามพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงประชาสัมพันธ์แคมเปญต่าง ๆ ที่ออกมาเพื่อรองรับสำหรับชาว LGBTQIA+ เพราะต่างมั่นใจว่าเป็นพลังเงียบแต่มีอำนาจมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ยกตัวอย่าง เช่น หลายธนาคารที่เปิดรับการพิจารณากู้ร่วมกันของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่สามารถดำเนินการได้แบบไม่แตกต่างจากคู่รักชายหญิงทั่วไป ทั้งในด้านของวงเงินสินเชื่อ และเอกสารประกอบการขอสินเชื่อ เพื่อตอกย้ำถึงสิทธิที่ควรเท่าเทียมกันไม่ว่าคุณจะเป็นเพศอะไร หรืออย่างร้านวัตสัน ที่เป็นร้านขายสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพและความงามชั้นนำของไทย ที่ได้ออกแคมเปญ Love is Love โดยการจำหน่ายสินค้าภายใต้บรรจุภัณฑ์สีรุ้งสดใส ซึ่งเป็นสีที่ใช้ในการสนับสนุนความเท่าเทียมกันทั้งในสิทธิและเสรีภาพของกลุ่ม LGBTQIA+

    ทำการตลาดออนไลน์อย่างไรให้ได้ใจชาว LGBTQIA+

    วันนี้ TBS Marketing ขอนำเสนอดทคนิคการทำการตลาดสำหรับเอาใจชาว LGBTQIA+ เพื่อโน้มน้าวพวกเขาให้กลายเป็นลูกค้าคนสำคัญสำหรับธุรกิจของคุณ

    1. ใช้ภาษาที่ครอบคลุมและหลากหลาย

    การใช้ภาษาเป็นเรื่องที่สำคัญในการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการของเราให้ผู้อื่นได้รับรู้ ซึ่งแน่นอนว่าผู้ใช้งานบนอินเตอร์เน็ตมีหลากหลายเพศ หลากหลายวัย และหลากหลายเชื้อชาติ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระวังในเรื่องของการใช้ภาษาไม่ให้ไปกระทบกับผู้ใด

    1. ไม่ควร stereotype ชาวเพศทางเลือกและนำมาทำเป็นเรื่องตลก

    อธิบายการ stereotype อย่างง่าย คือ การที่เรากำหนดว่าคนเพศนี้ ต้องมีบุคลิก ลักษณะ และนิสัยแบบนี้เท่านั้น การ stereotype ที่เห็นได้บ่อยเลย คือการมองว่าชาว LGBTQIA+ จะต้องเป็นคนตลก เนื่องด้วยชาว LGBTQIA+ ที่เราพบเห็นจากสื่อมักมีนิสัยเฮฮา มั่นใจ และกล้าแสดงออก แต่เราไม่ควรลืมว่าคนเราทุกคนนั้นแตกต่างกัน ถึงแม้จะเป็นเพศเดียวกัน แต่ก็ผ่านการเลี้ยงดูและเติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน จึงไม่ควรไปตัดสินใครจากเพศสภาพที่พวกเขาเป็น

    1. ทำการสำรจตลาดให้ดี

    อย่าลืมทำการสำรวจกลุ่มลูกค้าของคุณให้ดี เพื่อให้สามารถประชาสัมพันธ์แบรนด์ หรือสินค้าและบริการได้อย่างตรงจุด หลายครั้งที่เรายึดติดกับกรอบความคิดเดิม ๆ ว่าสินค้าชิ้นนี้เหมาะกับเพศนี้เท่านั้น โดยไม่ได้ทำการสำรวจตลาดและกลุ่มลูกค้าของเราให้ดีก่อน

    1. แสดงความนอบน้อมและความจริงใจ

    หลายครั้งที่การทำการตลาดในโลกออนไลน์ก่อให้เกิดประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับชาว LGBTQIA+ เมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น แบรนด์หรือองค์กรที่ควบคุมในเรื่องนี้ ควรทำการเพิกถอนและแสดงคำขอโทษที่จริงใจ รวมถึงควบคุมไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำอีก

    ที่มาข้อมูล: